เมื่อเปิดร้านอาหารแล้วนอกจากการเป็นร้านขายดี ร้านในดวงใจของลูกค้า อีกเป้าหมายที่หลายร้านอาหารรอคอย และคาดหวังไม่แพ้กันคือ การเป็นร้านอาหารที่ได้รับรางวัลมิชลิน หลังจากที่ได้ทำความรู้จักกับ มิชลินสตาร์ กันไปแล้วในบทความที่ผ่านมา บทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับ มิชลินไกด์ อีกหนึ่งรางวัลมิชลิน ที่คุ้นหูกันดี ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นรางวัลที่แสดงถึงความอร่อยหรือเป็นร้านขายดี แต่ร้านมิชลินไกด์ เป็นร้านที่ได้รับคัดเลือกจากการใส่ใจทุกรายละเอียด ความอร่อยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นออกมา
มิชลินไกด์ คืออะไร?
รู้จักมิชลินสตาร์กันไปแล้ว แต่ยังมีอีกหนึ่งชื่อที่มักจะเห็นบ่อยๆ นั่นคือ รางวัล มิชลินไกด์ จริงๆ แล้ว คำว่ามิชลินไกด์ หมายถึง หนังสือคู่มือ หรือ ไกด์บุ๊ค ที่บอกเกี่ยวกับข้อมูลการเดินทาง สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รวมถึงร้านอาหารที่น่าไปลิ้มลอง มีการรีวิวสั้น ๆ ของแต่ละร้าน รวมถึงมีการจัดอันดับให้กับร้านอาหารโดยใส่สัญลักษณ์ต่างๆ รวมถึง มิชลินสตาร์ ก็อยู่ในไกด์บุ๊คด้วยเช่นกัน
จุดเริ่มต้นของ มิชลินไกด์
มิชลินไกด์ เริ่มมาจาก อองเดร และเอดูอาร์ มิชลิน (André & Édouard Michelin) ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัทมิชลิน บริษัทยางรถยนต์รายใหญ่ของโลกสัญชาติฝรั่งเศส จัดทำหนังสือคู่มือครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศสในปี 2443 บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลการเดินทาง แผนที่ เพื่อกระตุ้นให้คนเดินทางโดยรถยนต์มากขึ้น เพื่อเพิ่มยอดจำหน่ายยางรถยนต์ รวมถึงสอดแทรกการดูแลยาง เป็นหนังสือเล่มแดงทีแจกฟรีมานานถึง 20 ปี และได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี ต่อมาได้เพิ่ม สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่พักแรม รวมถึงร้านอาหาร และ ในปี ค.ศ. 1926 เริ่มมีการจัดรางวัลเกิดขึ้น กลายเป็นรางวัลทรงคุณค่าที่ผู้คนตั้งตารอเลยทีเดียว
รางวัลใน มิชลินไกด์ บุ๊ค
- รางวัลดาวมิชลิน หรือ มิชลินสตาร์ เป็นรางวัลสูงสุดของ มิชลินไกด์บุ๊ค มีตั้งแต่ 1 ดาว, 2 ดาว และ 3 ดาว สัญลักษณ์คล้ายดอกไม้ 6 แฉก เป็นรางวัลที่ร้านอาหารไฝ่ฝัน
- มิชลินสตาร์ 1 ดาว คือ ร้านอาหารคุณภาพสูงที่ควรค่าแก่การหยุดแวะชิม
- มิชลินสตาร์ 2 ดาว คือ ร้านอาหารยอดเยี่ยม ที่ควรค่าแก่การขับรถออกนอกเส้นทางเพื่อแวะชิม
- มิชลินสตาร์ 3 ดาว คือ สุดยอดร้านอาหาร ที่ควรค่าแก่การเดินทางไกลเพื่อไปชิมสักครั้ง
- ซึ่งนอกจากรางวัลมิชลินสตาร์แล้ว ยังมีรางวัล บิบ กูร์มองด์ (Bib Gourmand) รางวัลที่มอบให้ร้านที่นำเสนออาหารรสชาติดี ในราคามิตรภาพ น่าลองไม่แพ้ร้านติดดาว มีสัญลักษณ์เป็น รูปมิชลิน แมนเลียริมฝีปาก
- มิชลิน เพลท (MICHELIN Plates) รางวัลที่มอบให้กับร้าน ร้านอาหารคุณภาพดี ใช้วัตถุดิบสดใหม่ และปรุงอย่างพิถีพิถัน
นอกจากรางวัลมิชลินสตาร์แล้ว ในไกด์บุ๊คยังมีรางวัลอื่นๆ ทำให้ร้านอาหารที่ได้รางวัล ไม่ว่าจะ บิบ กูร์มองด์ หรือ มิชลิน เพลท นิยมเรียกกันง่ายๆ ว่า ได้รางวัลมิชลินไกด์ เพื่อความเข้าใจง่ายนั่นเอง
เกณฑ์การได้รับรางวัล “ร้านมิชลินไกด์”
การได้รับรางวัลมิชลินมีเกณฑ์ในการตัดสินรางวัลจากองค์ประกอบ 5 ด้านดังนี้ หากพร้อมที่จะเป็นร้านอาหารที่ได้รับรางวัลแล้วเช็คลิสต์ด้านล่างดังนี้เลย
1.คุณภาพของวัตถุดิบ
คุณภาพของวัตถุดิบอาหารต้องได้คุณภาพดี สด สะอาด เสมอต้นเสมอปลายในทุกจานและทุกเมนู ไม่เพียงแต่หมายถึงวัตถุดิบที่ดีแต่หมายถึงความใส่ใจในการคัดเลือกวัตถุดิบอีกด้วย
2.ความชำนาญและเทคนิคในการประกอบอาหาร
ความชำนาญและเทคนิคในการประกอบอาหาร ทั้งความชำนาญและความมีเสน่ห์ สตอรี่ในการเล่าเรื่องของอาหาร ต้องมีความชำนาญและแสดงถึงความเชี่ยวชาญในการประกอบอาหารทุกจานที่นำมาเสิร์ฟให้ลูกค้า
3.อัตลักษณ์ของเชฟที่สะท้อนอยู่ในอาหาร
อัพลักษณ์ของเชฟหมายถึงทั้งชื่อเสียงและความมีเอกลักษณ์ที่สื่อสารออกมาในทุก ๆ จานสังเกตได้ว่าร้านอาหารมิชลินไกด์เชฟจะมีเอกลักษณ์ชื่อเสียงที่เป็นของตัวเองไม่ว่าด้านใดด้านหนึ่งเสมอ นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ร้านมิชลินไกด์เป็นร้านเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร
4.ความคุ้มค่าของอาหาร
ความคุ้มค่าของอาหารและราคา รางวัลมิชลินไกด์ไม่ได้หมายถึงร้าน Fine Dining หรือร้านภัตตาคารเท่านั้น แต่หมายถึงร้านอาหารที่มีเอกลักษณ์ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึง Fine Dining เลยทีเดียว และราคาความคุ้มค่าควรเหมาะสมกับอาหารและวัตถุดิบที่ลูกค้าได้รับอีกด้วย
5.ความเสมอต้นเสมอปลายของร้านอาหาร
ร้านมิชลินไกด์ควรเป็นร้านอาหารที่มีความเสมอต้นเสมอปลายในการเสิร์ฟทุกจาน ทุกเมนู ไม่ว่าจะฤดูกาลไหนก็ตาม เพราะการรักษามาตรฐานให้ได้นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่เกณฑ์มิชลินไกด์คาดหวังเท่ากับการได้รับรางวัลเช่นเดียวกันนั่นเอง
ใครคือผู้ตัดสินเกณฑ์การรับรางวัลมิชลินไกด์
ผู้ตัดสินรางวัลมิชลินไกด์ไม่ใช่เชฟระดับโลกหรือนักวิจารณ์อาหาร แต่เป็นลูกค้าจริง ๆ และเป็นผู้ตรวจสอบของมิชลินที่ได้รับหน้าที่นี้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมร้านอาหารจึงควรใส่ใจและรักษามาตรฐานให้ได้สม่ำเสมอนั่นเอง โดยนักตรวจสอบรางวัลมิชลินไกด์มีดังนี้
ลูกค้า: ลูกค้าถือเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าในการตัดสินสำหรับคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ เมื่อลูกค้าเข้าพักในโรงแรมหรือใช้บริการในร้านอาหาร ลูกค้าจะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบไปในตัว เราได้รับจดหมายและอีเมลมากกว่า 45,000 ฉบับจากผู้อ่านทุกปี ทั้งคำชมและคำวิจารณ์ ซึ่งถูกใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้ตรวจสอบของมิชลินในการเลือกร้านอาหารที่จะแวะไปชิมและปรับปรุงคุณภาพการคัดสรรร้านอาหารในลำดับต่อไป
ผู้ตรวจสอบของมิชลิน: ผู้ตรวจสอบของมิชลินคือลูกค้าธรรมดา ๆ ทั่วไป ทั้งหญิงและชายหลากหลายสัญชาติ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในสายงานด้านอาหารและบริการ เพื่อชิมอาหารราว 250 มื้อในร้านอาหาร และค้างคืนในที่พักกว่า 160 แห่ง พวกเขาต่างทำงานโดยไม่เปิดเผยตัว ไม่จดบันทึกข้อมูลใด ๆ ระหว่างรับประทานอาหาร และชำระค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด ในกรณีที่จำเป็น หลังชำระค่าอาหารแล้ว ผู้ตรวจสอบอาจแนะนำตัวเองเพื่อสอบถามข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม
มืออาชีพในสายงานด้านบริการ: ด้วยความเป็นมืออาชีพ ความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ และความปรารถนาที่จะทำให้ลูกค้าพึงพอใจ ผู้มีอาชีพในสายงานด้านบริการต่างทำงานในแต่ละวันโดยมุ่งเน้นคุณภาพเป็นหลัก พวกเขามีส่วนช่วยให้การคัดสรรและจัดอันดับของคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ดำเนินอยู่ต่อไปและมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลทุกปีเพื่อสะท้อนถึงความไม่หยุดนิ่งที่จะปรับตัวและความมีชีวิตชีวาของภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีพัฒนาการอยู่ตลอดเวลานั่นเอง
ร้านอาหารมิชลินไกด์ในกรุงเทพ ที่น่าไปลอง
ในประเทศไทย ก็มีร้านอาหารที่ได้รับรางวัลมิชลินไกด์ เช่นกัน โดยสามารถค้นหาได้ที่ เว็บไซต์ : https://guide.michelin.com/th/th และ ในบทความนี้ เราได้คัดร้านรางวัลมิชลินไกด์ ที่สามารถจองได้ง่ายๆ คิวไม่ยาว และราคาเอื้อมถึง เช็คเลย!
ริบรูม แอนด์ บาร์
ห้องอาหารริบรูม แอนด์ บาร์ สเต็กเฮ้าส์ รูฟท็อป Indoor ชั้น 31 โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ ที่ตกแต่งแบบโมเดิร์น ที่สามารถมองวิวสวยๆ ด้วยกระจกสูงพร้อมสัมผัสทัศนียภาพแสนสวยงามยามค่ำคืนของเมืองหลวง ที่มีความกว้างขวาง โปร่งสบาย และโทนสีที่ใช้แดงและสีทองแดงในการตกแต่ง และเฟอร์นิเจอร์แบบหรูหรา ที่ไม่ควรพลาด
ที่ริบรูม แอนด์ บาร์ สเต๊กเฮ้าส์ จะเป็นเมนูสเต็กและอาหารทะเลสุดพรีเมี่ยมที่คัดสรร ใส่ใจในการปรุง การเลือกวัตถุดิบ กับทุกเมนูที่เสริฟ ที่ดูแลโดย ฟิลิปป์ โกดัล (Philippe Gaudal) อาทิ หอยนางรมสดจากคาบสมุทรเกาหลีใต้ จานอร่อยที่แนะนำ เช่น ซีซาร์สลัด และ Steak au poivre สเต็ปรุงด้วยเทคนิค Flambée และวิสกี้ บวกกับความสุกของเนื้อที่เลือกได้ตามสั่ง สีสวย รสกลมกล่อมและโดดเด่นด้วยกลิ่นจากพริกไทยตามชื่อของเมนู
เช็คโปรโมชัน ริบรูม แอนด์ บาร์ : คลิก
Ms.Maria & Mr.Singh
ร้านอาหารฟิวชั่น อินเดีย-เม็กซิกัน สไตล์ Casual Dining ที่นำเสนอความแตกต่าง อย่างลงตัวของอาหารสไตล์ อินเดีย-เม็กซิกัน ภายในร้านตกแต่งด้วยสีส้มและฟ้าสดใสชวนให้เจริญอาหาร ร้าน Ms.Maria & Mr.Singh ก่อตั้งขึ้นจากเรื่องราวความรักของสาวเม็กซิกันตาคมกับหนุ่มอินเดีย และ Ms.Maria & Mr.Singh เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารที่ในเครือของเชฟระดับโลกอย่าง Gaggan Anand เชฟชาวอินเดียคนแรกที่ได้รับมิชลิน 2 ดาว และ รางวัล Asian Best Restaurant 3 ปีซ้อน จานอร่อยที่แนะนำ เช่น Dal Stew, Papdi Chat และ Yogurt Sphere ที่ให้รสชาติและเนื้อสัมผัสแสนสนุกในคำเดียว
เช็คโปรโมชัน Ms.Maria & Mr.Singh : คลิก
พระราม 9 ไก่ย่าง
พระราม 9 ไก่ย่าง ร้านไก่ย่างและอาหารอีสานที่อร่อยจนได้ Michelin Bib Gourmand 2020-2021 อร่อยทุกจานอีสานแท้ๆ ไก่ไทยย่างเนื้อนุ่มอร่อย ใช้ไก่บ้านมาหมักตามสูตรเฉพาะของทางร้าน เนื้อไก่จะแน่น เนื้อแห้ง ไม่ติดมัน พร้อมน้ำจิ้มสูตรเด็ด ทั้งน้ำจิ้มหวานและแจ่วน้ำมะขามเปียก นอกจากนี้ ยังมีอาหารอีสานหลากหลายเมนู อร่อยทุกจานแบบอีสานแท้ๆ
เช็คโปรโมชัน พระราม 9 ไก่ย่าง : คลิก
Uno Mas
ร้านอาหารสเปนสไตล์ทาปาส บนตึกสูงชั้น 54 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ ที่ปรุงด้วยฝีมือเชฟจากแคว้น Catalonia ผู้คัดสรรวัตถุดิบนำเข้าจากสเปน เพื่อรังสรรค์เมนูเรียกน้ำย่อยแบบฉบับต้นตำรับแท้ๆ ทั้งชีส แฮม Jamón Ibérico อาหารทะเล และปาเอญ่า จานอร่อยที่แนะนำ เช่น Half & Half Paella ที่เป็นการผสมผสานระหว่างปาเอญ่ากุ้งมังกรและปาเอญ่าตำรับที่ปรุงกินในเทือกเขา Pyrenees อย่าลืมจองที่นั่งริมหน้าต่างเพื่อเติมเต็มประสบการณ์สุดพิเศษกับคนรู้ใจยามพระอาทิตย์ตก
เช็คโปรโมชัน Uno Mas : คลิก
ร้านอาหารในประเทศไทยก็สามารถได้รับรางวัลมิชลินได้ การเปิดร้านอาหารสิ่งที่ควรคำนึงถึงประกอบไปด้วยหลาย ๆ ด้าน ทั้งการบริการ รสชาติอาหาร สถานที่ และการรักษามาตรฐาน หากร้านอาหารและผู้ประกอบการสามารถรักษามาตรฐานและบริหารร้านอาหารได้ตรงตามเกณฑ์มิชลินไกด์ ร้านต่อไปที่ได้รับรางวัลอาจเป็นร้านของคุณ
ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Hungry Hub เพื่อเพิ่มโอกาส เพิ่มยอดขายให้ร้านของคุณ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำหรับโรงแรม / สำหรับร้านอาหาร
หากร้านอาหารมีคำถาม หรือต้องการความช่วยเหลือจากทีม Hungry Hub สามารถติดต่อได้ที่ @hhforbusiness
อ่านบทความสำหรับผู้ประกอบการ ธุรกิจร้านอาหาร เพิ่มเติม
- โปรโมทร้านอาหาร ด้วย 7 เทคนิค ที่ทำให้ลูกค้าอยากถ่ายร้านอาหารคุณลง Social
- เครื่องหมาย SHA Plus คืออะไร ? แล้วทำอย่างไรถึงจะได้เครื่องหมายนี้?
- ลบความคิดเดิมๆ เปิด 6 เหตุผลใหม่ อะไรคือสิ่งที่ทำให้ลูกค้าตัดสินใจกิน บุฟเฟ่ต์ ที่ผู้ประกอบการต้องรู้
- รวม 10 เมนูแซลมอน ปลาแซลมอนแต่ละส่วน ทำเมนูอะไรได้บ้าง
- สรุปเทรนด์ ธุรกิจ บุฟเฟ่ต์ จากงานเสวนา “Thailand Buffet Network 2022”