เป็นที่รู้กันดีว่า หลังจากเกิดสถานการณ์ โควิด-19 ทำให้แพ็กเกจ Staycation ได้รับความสนใจ และเป็นที่นิยมอย่างมากกับนักท่องเที่ยวชาวไทย โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีโครงการ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ ที่เข้ามาช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยรัฐบาลสนับสนุนค่าโรงแรมถึง 40% และเกิดขึ้นมาแล้วถึง 4 เฟส ทำให้โปรโมชันโรงแรมต่างๆ ได้รับความสนใจ มีผู้เข้าพักและใช้สิทธิ์โครงการจำนวนมาก แต่ปัญหาที่ตามมา คือ เมื่อจบโครงการเราเที่ยวด้วยกัน การทำโปรโมชัน Staycation เป็นไปได้ยากยิ่งขึ้น เพราะหลายๆ คน ติดกับส่วนลดที่ได้ ส่งผลให้ยอดผู้เข้าพักน้อยลงตามไปด้วย วันนี้ Hungry Hub นำแนวทางการปรับตัวในการทำโปรโมชัน Staycation ให้มีความน่าสนใจ สามารถดึงดูดลูกค้าได้ แม้ไม่มี เราเที่ยวด้วยกัน
ย้อนทำความรู้จัก โครงการเราเที่ยวด้วยกัน
โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เป็นโครงการจากภาครัฐที่มีขึ้น เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายภาคประชาชนผ่านการท่องเที่ยวภายในประเทศ ช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง สนับสนุนการสร้างงาน และฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในองค์รวม เปิดตัวครั้งแรกในปี 2563 ปัจจุบันมีถึงเฟส 4 และมีผู้เข้าร่วมโครงการในระบบแล้วกว่า 10 ล้านคน
ทำไมเราเที่ยวด้วยกันถึงได้รับความนิยม
- รัฐบาล สนับสนุนส่วนลดค่าโรงแรมที่พัก 40% ของราคาที่พักต่อห้องต่อคืน (ทั้งนี้ไม่เกิน 3,000 บาท) ทำให้ลูกค้าเหมือนได้ส่วนลดฟรีๆ สูง ถึง 40% และได้ส่วนลดในทุกๆ คืนที่เข้าพัก แม้จะจำกัดสิทธิคนละไม่เกิน 10 ห้อง หรือ 10 คืน แต่ก็นับว่าเป็นจำนวนที่เพียงพอ
- นอกจากสนับสนุนค่าที่พัก ยังสนับสนุนส่วนลดค่าอาหารและค่าเข้าสถานที่ท่องเที่ยว เป็นคูปอง มูลค่า 600 บาทต่อห้องต่อคืน โดยประชาชนชำระ 60% และรัฐบาลสนับสนุนอีก 40% ผ่านการตัดเงินจากคูปอง
ซึ่งหลังจากเปิดให้ประชาชนเริ่มจองสิทธิโครงการ “เราเที่ยวด้วยกัน เฟส 4 ส่วนขยาย” อีกจำนวน 1.5 ล้านสิทธิใหม่ เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2565 พบว่า ณ เวลา 23.00 น.ของวานนี้ (4 ก.ค.) มีจำนวนสิทธิโรงแรมที่พักถูกจองไปแล้วกว่า 3 แสนสิทธิหรือห้องพัก ถือเป็นกระแสตอบรับที่ดี
ทำแพ็กเกจอย่างไรให้ดึงดูดลูกค้า แม้ไม่มีเราเที่ยวด้วยกัน
แม้ว่า ลูกค้าต่างชาติจะเริ่มกลับมา แต่ลูกค้าคนไทย ก็นับว่าเป็นกลุ่มลูกค้าที่มี Potential และเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อ ไม่ควรปล่อยผ่านหรือมองข้าม พฤติกรรมของลูกค้าคนไทยเป็นกลุ่มที่ยอมใช้จ่าย หากมีโปรโมชันที่โดนใจ Hungry Hub ได้รวมแนวทางการทำแพ็กเกจการทำโปรโมชันโรงแรมที่โดนใจกลุ่มลูกค้าคนไทย 5 ประเด็นหลัก ดังนี้
- ทำแพ็กเกจแบบ Bundle Deal
การทำแพ็กเกจแบบ Bundle เป็นการรวมสิ่งที่มี Value ในสายตาของลูกค้า มามัดรวมเป็นแพ็กเกจราคาเดียว เช่น แพ็กเกจ Staycation 4,999.- ได้ห้องพัก Executive 1 คืน คอร์สอาหาร 6 เมนู สปา สำหรับ 2 ท่าน เป็นต้น แพ็กเกจประเภทนี้ช่วยดึงดูดลูกค้าได้เป็นอย่างดี เพราะลูกค้าจะรู้สึกว่าคุ้มค่า จ่ายจบในราคาเดียว แต่ได้ Benefits หลายอย่าง คุมงบได้ง่าย และไม่ต้องวางแผนยุ่งยาก
ในมุมของโรงแรม การทำแพ็กเกจ Bundle ทำให้โรงแรมสามารถเพิ่มโอกาสขายได้มากขึ้น จากเดิมที่ผู้เข้าพักเลือกใช้จ่ายกับห้องพักเพียงอย่างเดียว ก็สามารถเพิ่มโอกาสขายห้องอาหาร บริการสปา หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่โรงแรมมีอยู่แล้ว และยังเป็นการสร้างการรับรู้ให้กับลูกค้า ถึง Service อื่นๆ ที่โรงแรมมี มีโอกาสที่ลูกค้าจะกลับมาใช้บริการแยกต่างหากในอนาคต
- Free Room Concept
การทำแพ็กเกจแบบแถมห้องพัก หรือให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้ห้องพักในราคาที่ถูกกว่าปกติ คือการนำสิ่งที่ลูกค้ายอมจ่าย หรือขายดีอยู่แล้ว เช่น ห้องอาหาร สปา เป็นต้น ทำเป็นโปรโมชันแบบรวมห้องพัก เช่น คอร์สเมนูปกติ 1,599 (เป็นคอร์สที่เป็นที่นิยม มีฐานลูกค้าประจำ) ทำโปรโมชั่นพิเศษ จ่ายเพียง 2,599 ได้สิทธิ์ห้องพัก 1 คืน เป็นต้น ในมุมของลูกค้ารู้สึกว่าคุ้มค่า ได้ห้องพักโดยจ่ายเพิ่มเพียง 1,000 บาท
หรือ แพ็กเกจ Daycation สปามูลค่า 1,200 บาท จ่ายเพียง 1,999 บาท รับห้องพัก 5 ชั่วโมงฟรี พร้อมชุดน้ำชา ลูกค้ารู้สึกว่าได้ประสบการณ์ใหม่ๆ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ในมุมของโรงแรมมีต้นทุนที่สามารถนำมาทำโปรโมชันได้อยู่แล้ว การทำโปรโมชันใหม่ๆ นอกจากการลดราคา จะทำให้ดึงดูดใจลูกค้าได้ดี
- Collaboration Brand
นอกเหนือจากสิ่งที่โรงแรมมีอยู่แล้ว การ Collaboration กับแบรนด์อื่นๆ จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้ดียิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น Copper Buffet ร่วมกับ โรงแรม Banyan Tree จัดโปรโมชันพิเศษ เมื่อทานบุฟเฟ่ต์นานาชาติ สามารถเข้าพักที่โรงแรม Banyan Tree ได้ 1 คืน พร้อมกับเครื่องดื่มบนรูฟท็อป ซึ่งเป็นโปรโมชันที่ได้รับความสนใจอย่างมาก สร้างยอดขายได้กว่า x ล้านบาท ร้านอาหารสามารถดึงดูดลูกค้าโรงแรมให้มารู้จักและได้ลิ้มลอง ส่วนโรงแรมเอง ก็ได้ฐานลูกค้าของร้านอาหาร ที่ชื่นชอบอยู่แล้ว มาใช้บริการโรงแรม
- Exclusive Deals
การทำ Exclusive Deals คือการทำโปรโมชันพิเศษที่ไม่เคยมีมาก่อน หาความพิเศษมาเพิ่มความน่าสนใจ และเพิ่ม Value ในสายตาลูกค้า เช่น โรงแรมบันยันทรี ทำแคมเปญเตียง 1 ล้านบาท มอบประสบการณ์สุดพิเศษให้กับลูกค้า ได้นอนเตียงมูลค่า 1 ล้านบาท เป็นต้น ในมุมของลูกค้ามองว่าเป็นประสบการณ์ใหม่ มีความแปลกใหม่แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ดีลแบบนี้จะช่วยดึงดูดได้ทั้ง ลูกค้าประจำได้มาลองอะไรใหม่ๆ และสามารถสร้าง Viral ให้กับโรงแรมเป็นที่รู้จักกับลูกค้าใหม่ๆ
- ทำโปรโมชันแบบพรีเมียม
การทำโปรโมชันไม่จำเป็นต้องลดราคา หรือมีราคาถูกมากเพื่อดึงดูดลูกค้าที่เป็น Price Sensitive เพราะยังมีกลุ่มลุกค้าระดับกลาง ถึงระดับบน ที่ยอมจ่ายให้กับสิ่งที่ดีที่สุด หรือเพื่อได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด โรงแรมสามารถนำสิ่งที่ดีที่สุดมาทำโปรโมชัน แต่ยังคงคอนเซ็ปต์ Bundel Deals เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย เช่น ห้องพักประเภทสูงสุด สปา คอร์สเมนูหรู เป็นต้น เพื่อดึงดูดลูกค้าที่ยอมจ่าย มาใช้จ่ายกับโปรโมชันนี้
ทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งในการ ทำโปร Staycation เพื่อดึงดูดลูกค้า ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้มาจากประสบการณ์จาก Hungry Hub ในการร่วมงานกับพาร์ทเนอร์โรงแรม หากร้านอาหาร/โรงแรม สนใจอยากเข้าร่วม กับ Hungry Hub เพื่อเพิ่มโอกาส เพิ่มยอดขายให้ร้านของคุณ
ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Hungry Hub เพื่อเพิ่มโอกาส เพิ่มยอดขายให้ร้านของคุณ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำหรับโรงแรม / สำหรับร้านอาหาร
หากร้านอาหารมีคำถาม หรือต้องการความช่วยเหลือจากทีม Hungry Hub สามารถติดต่อได้ที่ @hhforbusiness
อ่านบทความสำหรับผู้ประกอบการ ธุรกิจร้านอาหาร เพิ่มเติม
- ร้านอาหารโฆษณาเหล้าเบียร์ได้ไหม ? อัปเดตล่าสุด! กฎหมาย โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 2565
- เปิด 5 แนวทางปรับตัว ค่าไฟขึ้นราคา สำหรับธุรกิจร้านอาหาร
- ร้านอาหาร ไม่มีวันขาดทุน เมื่อรู้ จุดคุ้มทุน ร้านอาหาร
- ทำร้านอาหาร ใช้ ระบบจองโต๊ะ แบบไหนดี?
- ปัญหาร้านอาหาร “ขายดี” ปัญหาที่คาดไม่ถึง ที่เจ้าของร้านไม่ควรมองข้าม