หลังจากมีกระแส ค่าไฟขึ้นราคา และมีชาวโซเชียลโพสต์ภาพบิลค่าไฟ ที่ทำให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของค่า FT ที่เพิ่มขึ้น กว่า 0.68 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟแพงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ยืนยันได้แล้วว่า ค่าไฟมีการปรับขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ ซึ่งค่าไฟฟ้านี่เอง ก็ส่งผลกับธุรกิจร้านอาหารโดยตรง ทำให้ต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย Hugnry Hub ได้รวม 5 แนวทางในการปรับตัวเบื้องต้น เพื่อรับมือกับต้นทุนค่าไฟที่เพิ่มขึ้น
ฟังเหตุผลจากภาครัฐ ค่าไฟขึ้นราคา เพราะอะไร?
หลังจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติให้ปรับค่าไฟฟ้างวด ก.ย.-ธ.ค.โดยการปรับขึ้นค่า FT (อัตราค่าไฟฟ้าฝันแปรอัตโนมัติ) จากเดิม 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ปรับเพิ่มขึ้น 68.66 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่า FT อยู่ที่ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมที่ประชาชนต้องจ่าย อยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย ซึ่งเป็นอัตราค่าไฟฟ้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์
สำหรับสาเหตุของการขึ้นค่า FT สำนักงาน กกพ. แจงเหตุผล 4 ข้อหลักๆ ดังนี้
- ปริมาณก๊าซในประเทศที่ลดลงจากเดิม จากการที่ก๊าซธรรมชาติส่วนหนึ่งในอ่าวไทย จากแหล่งผลิตหลักเอราวัณขาดหายไป
- การผลิตก๊าซจากเมียนมาผลิตไม่ได้ตามกำลังเดิม และมีแนวโน้มที่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง
- สถานการณ์ผู้ผลิต LNG ชะลอการลงทุน
- สภาวะสงครามรัสเซีย – ยูเครน ทำให้รัสเซียลดหรือตัดการจ่ายก๊าซธรรมชาติทางท่อไปยังยุโรป ส่งผลกระทบทางอ้อมต่อราคา LNG ในตลาดเอเชีย
5 แนวทางปรับตัว ค่าไฟขึ้นราคา สำหรับธุรกิจร้านอาหาร
- แบ่งโซนการเปิดให้บริการ
สำหรับร้านอาหารที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือมีหลายโซน อาจใช้วิธีการ แบ่งเปิด-ปิดบางโซนในช่วงเวลาที่คนเข้าร้านน้อย เพื่อลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ และไฟในโซนที่ไม่ใช้งาน ซึ่งค่าไฟของเครื่องปรับอากาศ หรือแอร์ นับว่าไม่น้อยเลย ยกตัวอย่าง เครื่องปรับอากาศ ขนาด 18,000 BTU จำนวน 1 เครื่อง ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง จะเกิดค่าไฟประมาณ 906.24/เดือน หมายความว่า หากร้านอาหารเปิดแอร์พร้อมกัน 3-4 เครื่อง จะมีต้นทุนค่าแอร์มากถึง 3,624.96 บาท
ข้อมูลจาก เว็บไซต์คำนวณค่าแอร์ : https://scair.co.th/electric-bill-calculator/
- จัดเทรนนิ่งพนักงาน
รู้หรือไม่ว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ แม้จะไม่ได้ทำงาน แต่หากไม่ถอดปลั๊กออก เครื่องใช้ไฟฟ้าก็จะยังมีไฟหล่อเลี้ยง หรือกินไฟอยู่ดี
ตัวอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว
- หม้อหุงข้าว กินไฟประมาณ 450-1,500 วัตต์
- เตาหุงต้มไฟฟ้า กินไฟประมาณ 200-1,500 วัตต์
- เตาไมโครเวฟ กินไฟประมาณ 100-1,000 วัตต์
- เครื่องปิ้งขนมปัง กินไฟประมาณ 800 – 1,000 วัตต์
- ตู้เย็น กินไฟประมาณ ใช้ไฟ 75 – 240 วัตต์
- กาต้มน้ำร้อน กินไฟประมาณ 500 – 750 วัตต์
- เครื่องชงกาแฟ กินไฟประมาณ 200 – 1,500 วัตต์
ดังนั้น ผู้ประกอบการควรจัดเทรนนิ่งพนักงาน ให้ช่วยกันประหยัดไฟ โดยการปิดสวิทช์หรือถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้งาน ปิดแอร์ ปิดไฟทุกครั้งที่จำเป็น จะช่วยประหยัดพลังงาน และช่วยป้องการเกิดอัคคีภัยได้อีกด้วย
- ตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้า
หนึ่งทางที่ช่วยให้ร้านอาหารสามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ คือการตรวจเช็คเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดีหรือไม่ หรือมีอายุการใช้งานเท่าไหร่ ซึ่งการลงทุนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ อาจประหยัดกว่าใช้เครื่องเก่าต่อไปเรื่อยๆ เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ จะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ให้ประสิทธิภาพการทำงานดีกว่า และได้ผลมากกว่า ทำให้เครื่องทำงานไม่หนัก และไม่กินไฟเท่าเครื่องเก่า
- หาทางลดต้นทุนส่วนอื่น
นอกจากการประหยัดไฟ เพื่อลดต้นทุนค่าไฟฟ้า ผู้ประกอบการลองหาทางใหม่ๆ ที่ช่วยลดต้นทุน เช่น หา Supplier ใหม่ๆ เพื่อเปรียบเทียบ Food Cost หรือลดการใช้วัตถุดิบที่มีราคาสูง โดยการทำเมนูใหม่ๆ ที่มีต้นทุนถูกกว่าทดแทน, ลดต้นทุนด้านการตลาด หันมาใช้ช่องทาง Social Media ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มฟรี เป็นต้น
- ทำแพ็กเกจที่เพิ่ม Value แทนการเพิ่มราคาต่อเมนู
การรับมือต้นทุนสูง ด้วยการปรับราคาขาย อาจเป็นทางออกที่เพิ่มภาระให้กับลูกค้า และทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ดีกับร้าน ร้านอาหาร สามารถทำโปรโมชันที่เพิ่ม Value ให้กับเมนู เช่น จัดเซ็ต เมนู+เครื่องดื่มม็อกเทลที่มีต้นทุนต่ำ หรือเพิ่มวัตถุดิบที่ดูมีมูลค่าในเมนู อย่าง สปาเกตตี้เนื้อย่าง ทำให้จะทำให้สามารถขายในราคาที่สูงขึ้นได้ โดยที่ลูกค้าเต็มใจที่จะจ่าย
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแนวทางปรับตัวเบื้องต้น สำหรับธุรกิจร้านอาหาร ในการรับมือกับค่าไฟที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามนอกจากแนวทางในการลดต้นทุนต่างๆ ร้านอาหารควรมองหาหนทางในการเข้าถึงลูกค้า เพิ่มฐานลูกค้าใหม่ๆ เพื่อเพิ่มยอด เพิ่มรายได้ และกำไรให้กับร้าน ให้ร้านสามารถอยู่ได้ในยุคที่ต้นทุนต่างๆ สูงขึ้น
อ้างอิง:
- https://energy.mfu.ac.th/slide-energy-pic4.php
- https://www.mheesara.com/electrical-appliances-popular-power-consumption/
- https://www.bangkokbiznews.com/news/news_update/1021349
…………………………………………………………………………………………………………………………………………….
ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับ Hungry Hub เพื่อเพิ่มโอกาส เพิ่มยอดขายให้ร้านของคุณ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : สำหรับโรงแรม / สำหรับร้านอาหาร
หากร้านอาหารมีคำถาม หรือต้องการความช่วยเหลือจากทีม Hungry Hub สามารถติดต่อได้ที่ @hhforbusiness
อ่านบทความสำหรับผู้ประกอบการ ธุรกิจร้านอาหาร เพิ่มเติม
- ทำความเข้าใจ พฤติกรรมผู้บริโภค 4 กลุ่ม พร้อมแนวทางมัดใจลูกค้า
- รู้จัก TasteAtlas เว็บไซต์อาหารที่จัดอันดับ ข้าวซอย เป็นอันดับ 1 ซุปที่ดีที่สุดจากนักรีวิวทั่วโลก
- รวม 7 ข้อที่ไม่ควรทำ สำหรับ ธุรกิจร้านอาหาร ถ้าอยากมีกำไร
- 6 วิธี การออกแบบเมนู ลูกค้าโดนใจ ร้านอาหารทำกำไรได้มากขึ้น
- เทคนิคเลือก รูปแบบโต๊ะอาหาร ให้ตอบโจทย์แต่ละกลุ่มเป้าหมายของลูกค้า
- บล็อกเกอร์ อาหาร กลยุทธ์การตลาดสำหรับร้านอาหารที่ไม่ควรมองข้าม