กัญชา พืชสมุนไพรที่หลายๆ คนคุ้นหน้าคุ้นตา ซึ่งจากเดิมเป็นพืชผิดกฎหมาย จัดเป็นสารเสพติด ที่ห้ามผลิต หรือมีไว้ในครอบครอง ปัจจุบันได้ปลดล็อกให้พืชกัญชาไม่ถือเป็นยาเสพติด สามารถสูบ ปลูก และมีในครอบครองได้ (ภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนด) รวมถึงสามารถนำไปใช้ประกอบอาหารได้! แล้วร้านอาหารทั่วไป สามารถใช้กัญชาได้เลยหรือไม่ มีข้อกำหนดอะไรที่ต้องรู้ Hungry Hub รวมไว้ให้แล้ว
9 มิถุนา ปลดล็อก กัญชา ถูกกฎหมาย
ในอดีต กัญชา เคยจัดให้เป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ซึ่งมีกฎหมายว่า ห้ามบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้รับอนุญาตจะผลิต/เพาะปลูก จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือไม่ไว้ในครอบครอง แต่ปัจจุบัน ได้มีการแก้ข้อกฎหมาย ปลดล็อกพืชกัญชา ให้ไม่ถือเป็นยาเสพติด (ยกเว้นสารสกัดของกัญชาที่มีค่า THC เกิน 0.2% จะยังถือว่าเป็นสารเสพติด) สามารถผลิต/ปลูก สูบ และมีในครอบครองได้โดยไม่ผิดกฎหมาย มีผลนับตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
กัญชา ถูกกฎหมาย แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบกำหนด
แม้ว่ากัญชาจะถูกกฎหมายแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะ เสรี ขั้นสุด เพราะ กัญชา ยังอยู่ภายใต้การควบคุม ไม่ใช่ฐานยาเสพติด แต่เป็นการควบคุมในลักษณะคล้ายกับ ยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั่นเอง ดังนั้น ก่อนนำ พืชกัญชาไปใช้ ควรจะต้องศึกษาข้อกำหนดก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิด
ข้อกำหนดการใช้ กัญชา ในยุค กัญชา ถูกกฎหมาย
- ปลูกเองได้ แต่ต้องขึ้นทะเบียนผ่านแอปฯ ก่อน
ประชาชนทั่วไป สามารถปลูกกัญชาเพื่อใช้เองในครัวเรือนได้แล้ว สามารถนำไปปรุงอาหารได้ทุกส่วน (ยกเว้นยอดหรือช่อดอก) ไม่ต้องรอขออนุญาต แต่ต้องลงทะเบียนเพื่อแจ้งข้อมูล
โดยลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์/แอปพลิเคชัน “ปลูกกัญ” (จัดทำโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) เพียง 3 ขั้นตอน 1.ลงทะเบียน 2.จดแจ้งตามวัตถุประสงค์ และ 3.รับเอกสารจดแจ้งอิเล็กทรอนิกส์ ก็สามารถปลูกได้เลย แต่ถ้าหากต้องการปลูกในเชิงพาณิชย์ ปลูกเป็นอุตสาหกรรมจะต้องขออนุญาตก่อน
- ปลูกเชิงพาณิชย์ ปลูกขาย ทำได้ แต่ต้องขออนุญาต
ใครที่ต้องการปลูกในเชิงพาณิชย์ หรือปลูกเพื่อขาย ปลูกเป็นอุตสาหกรรม จะต้องขออนุญาตก่อน โดยขอผ่านทางเว็บไซต์และแอปฯ “ปลูกกัญ”
- การสูบกัญชา-กัญชง
ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป สามารถสูบกัญชาได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่การสูบในที่สาธารณะซึ่งรบกวนสิทธิผู้อื่น ก่อให้เกิดความรำคาญ/เดือดร้อน จะยังมีความผิดตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข พ.ศ.2535 โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 25,000 บาท
- การจำหน่ายกัญชา ทำได้แบบถูกกฎหมาย
สำหรับผู้ที่ต้องการจำหน่ายกัญชา สามารถทำได้ โดย การจำหน่ายส่วนของพืชกัญชา ไม่ต้องขอรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
– กรณีเป็นสารสกัดที่มี THC ไม่เกิน 0.2 % ไม่ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ
– กรณีสารสกัดที่มี THC เกิน 0.2 % ต้องมีใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้ซื้อต้องมีใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษด้วย
- การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์และกิ่งพันธุ์ ต้องขอรับอนุญาตตามพระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518
- การจำหน่ายสารสกัดที่ได้รับอนุญาต ให้สกัดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด
ร้านอาหาร ใช้กัญชาได้ไหม ต้องทำอย่างไร?
จริงๆ แล้ว ได้มีการมีปลดล็อกส่วนของกัญชาและกัญชง (ยกเว้นช่อดอก และเมล็ดกัญชา) ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติด ตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2563 ทำให้เราได้เห็นเมนูกัญชากันบ้างแล้ว แต่ ณ ขณะนั้นยังมีข้อจำกัดเรื่องการปลูก การสกัด และผลิตยังต้องขออนุญาต ทำให้กัญชา ยังไม่แพร่หลายในวงกว้าง
หลังจากปลดล็อก กัญชา ถูกกฎหมาย ปลูก สูบ จำหน่ายได้ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป ทำให้การนำกัญชามาใช้ เป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น ร้านอาหาร สามารถขายเมนูกัญชา ไม่ต้องขออนุญาตจาก อย. แต่มีข้อกำหนดเล็กน้อย ว่าทำตามประกาศกรมอนามัย จึงจะถูกต้อง
ขายเมนูกัญชา ไม่ต้องขออนุญาตจาก อย.
สำหรับผู้ผลิตอาหารเพื่อจำหน่าย (โรงงานผลิตต่างๆ) ต้องดำเนินการยื่นขอรับเลขสถานที่ผลิตอาหารและเลขสารบบอาหาร แต่ สำหรับสถานประกอบการอาหารที่ปรุงเพื่อจำหน่ายภายในร้านอาหาร รวมถึงการบริการจัดส่งอาหารให้กับผู้ซื้อ สามารถใช้ กัญชา เป็นวัตถุดิบได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตกับ อย. เพียง ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหารในสถานประกอบกิจการอาหาร พ.ศ. 2565 ดังนี้
- แสดงข้อแนะนำ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร
- แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีส่วนประกอบของกัญชาหรือกัญชงในภาชนะบรรจุ ได้แก่ “เด็ก อายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน” “หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที” “ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocanabionol,THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (Canabidiol, CBD) ควรระวังในการรับประทาน” และ “อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล”
การใส่ใบกัญชาในอาหาร มาจาจากภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อเป็นเครื่องชูรส ทำให้เจริญหาร ลดอาการเจ็บปวด นอนหลับสบาย โดย กัญชา สามารถนำมาเป็นวัตถุดิบอาหาร โดยสาร THC ในกัญชา มีฤทธิ์มึนเมา และช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร โดยสาร THC ในกัญชา มีฤทธิ์มึนเมา และช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร เพียงแต่มีข้อแนะนำ ไม่ควรกินเกินวันละ 5-8 ใบ
ส่องร้านอาหาร ที่ใช้กัญชา แล้วปัง
ตัวอย่างร้านอาหารที่นำ กัญชา มาเป็นวัตถุดิบใยการปรุงอาหาร คือร้าน พระยาบาร์ รูฟท็อป เป็นบาร์ชิลๆ สไตล์รูปท็อป ตั้งอยู่ที่ชั้น 4 ของร้านรสดีเด็ด บ้านคุณนพ ย่านบรรทัดทอง โดยนำกัญชามารังสรรค์ เพิ่มความโดดเด่นในหลากหลายเมนู เช่น
- หมูย่างควันกัญชา เนื้อย่างควันกัญชา โดยนำเนื้อไปหมักกับเครื่องเทศและกัญชาก่อนนำไปย่าง จากนั้นทำการรมควันกัญชาก่อนมาเสิร์ฟ
- สมรซาวน่าไอกัญชา เป็นเมนูแซลมอนหมักกับเครื่อง, น้ำมันมะกอก และกัญชา สไตล์อินเตอร์
- สมรแซ่บกัญชาเทมปุระ เป็นแซลมอนเต๋ารสแซ่บจัดจ้าน พร้อมกับใบกัญชาทอดแบบเทมปุระ
การนำกัญชามาใช้ในวงการอาหาร เป็นการนำจุดเด่นของพืชกัญชา มาช่วยเพื่อมกิมมิค เพิ่มความน่าสนใจให้กับเมนูอาหาร สามารถช่วยยกระดับจากเมนูธรรมดา ให้มีสีสันและมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
หากร้านอาหาร มีคำถาม หรือต้องการความช่วยเหลือจากทีม Hungry Hub สามารถติดต่อได้ที่ Line: @hhforbusiness หากร้านอาหารใหม่ สนใจอยากเข้าร่วม กับ Hungry Hub เพื่อเพิ่มโอกาส เพิ่มยอดขายให้ร้านของคุณ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : คลิก