ในปัจจุบันที่สถานการณ์โควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป โดยเฉพาะการท่องเที่ยวข้ามจังหวัดที่มีข้อจำกัดมากขึ้น ทำให้เกิดเทรนด์ Staycation การท่องเที่ยวใกล้บ้านเพื่อลดการเดินทาง “Staycation” เริ่มเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นกับ ธุรกิจ โรงแรม เนื่องจากจำนวนลูกค้าต่างชาติที่ลดน้อยลง ทำให้ Staycation กลายเป็น การตลาด โรงแรม ที่สำคัญ ที่ช่วยฟื้นตัวให้ธุรกิจโรงแรมสามารถขายลูกค้าคนไทย ให้มาใช้บริการมากขึ้นได้ คำถามหลังจากนั้นคือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการจาก Staycation คืออะไร ในบทความนี้ Hungry Hub ได้รวมความสุดยอดเทคนิคจากโรงแรมชื่อดัง เพื่อให้ธุรกิจโรงแรมนำไปปรับใช้เพื่อดึงดูดลูกค้าและเพิ่มยอดขายได้
Staycation การตลาด โรงแรม ยุคใหม่ที่ช่วยฟื้นตัวธุรกิจโรงแรม
ก่อนจะไปพบกับเทคนิคการทำโปรโมชั่น Staycation เรามาทำความรู้จักคำว่า Staycation กันก่อน
Staycation คือ เป็นการผสมคำระหว่าง “Stay” ที่แปลว่า อยู่กับที่ กับคำว่า “Vacation” ที่แปลว่า การหยุดพักผ่อน เมื่อรวมคำกันแล้วมีความหมายว่า การหยุดพักผ่อนแบบอยู่กับที่ หรือพักผ่อนแบบไม่ต้องเดิน อธิบายแบบสั้นๆ เข้าใจง่าย คือการท่องเที่ยวใกล้บ้าน เที่ยวในจังหวัดของตัวเอง เช่น ถ้าอาศัยอยู่ในกรุงเทพ ก็เที่ยวแถวๆ กรุงเทพ เหมาะกับผู้คนยุคนี้ที่ต้องการ Work-life Balance ประหยัดเวลา และไม่เหนื่อยกับการเดินมากเกินไป จัดว่าตอบโจทย์ความต้องการในรูปแบบชีวิตในยุค New Normal
Staycation เข้ามามีบทบาทกับธุรกิจโรงแรมอย่างมาก เนื่องจากหลังจากเกิดสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ทำลูกค้าต่างชาติ ที่เป็นฐานลูกค้าหลักของโรงแรมหายไป ธุรกิจโรงแรมเรียกได้ว่า แทบจะไม่มีแขกเข้ามาใช้บริการ ทำให้ธุรกิจโรงแรมต้องปรับตัวอย่างมาก ซึ่ง Staycation นี้เอง ที่เป็นตัวช่วยพลิกฟื้นให้ธุรกิจโรงแรมสามารถกลับมาได้ ด้วยโปรโมชั่นที่ตอบโจทย์คนไทย และตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการพักผ่อน ได้ประสบการณ์ที่ดี แบบไม่ต้องเดินทางไกล
5 สิ่งที่ลูกค้ามองหาจากโรงแรม เทคนิคการตลาดตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าได้แบบตรงจุด
1. แพ็กเกจแบบ รวมอาหาร
หนึ่งในปัจจัยหลักของลูกค้า ในการตัดสินใจจอง Staycation คือตัดสินใจจากคำถามที่ว่า “โรงแรมนี้มีแพ็กเกจพร้อมอาหารหรือไม่” เพราะไฮไลท์ของ Staycation คือไม่ใช่แค่นอนค้างคืน แต่คือการได้ประสบการณ์ที่ดี ทั้งห้องพักและอาหาร แบบที่เดียวครบไม่ต้องเดินทางออกทานอาหารข้างนอก ซึ่งโรงแรมเองก็มีห้องอาหารเพื่อรองรับผู้เข้าพักอยู่แล้ว การที่รวมแพ็กเกจอาหารเข้าไปในโปรโมชั่น จะช่วยทำให้แพ็กเกจดูมี Value เพิ่มขึ้น โดยที่โรงแรมยังสามารถควบคุมต้นทุนได้
แพ็กเกจอาหารอาจมาในรูปแบบ Full Board รวมอาหารทุกมื้อ เช่น โรงแรมครอสไวบ์ กรุงเทพ สุขุมวิท ที่มาพร้อมอาหารเช้า มื้อกลางวัน และดินเนอร์ ให้ความคุ้มไปที่อาหารโดยตรง เป็นต้น หรือ แพ็กเกจอาหารแบบ Half Board ที่ไม่ได้อาหารทุกมื้อ แต่ให้คอร์สอาหารที่น่าดึงดูดแทน เช่น โรงแรมบันยันทรี กรุงเทพ ที่รวมดินเนอร์สุดหรู 4 เมนู พร้อมม็อกเทล 2 แก้ว เป็นต้น
2. อัพเกรดห้องพัก
ไฮไลท์ของโรงแรม คือประเภทห้องพักที่หลากหลาย หนึ่งใน การตลาด โรงแรม ที่ดึงดูดลูกค้าให้สนใจได้เป็นอย่างดี คือการมอบสิทธิประโยชน์ในการอัพเกรดห้องพัก ให้ลูกค้าได้พักผ่อนในห้องพักที่มีความพิเศษมากกว่า เช่น จ่ายราคาเดิม แต่ได้อัพเกรดจากห้อง Standard Room เป็นห้องระดับ Suite ที่ได้วิวชั้นสูง และอ่างอาบน้ำ หรือ อัพเกรดเป็นห้อง Club Room ที่สามารถเข้าใช้ Club Lounge ได้ เป็นต้น ลูกค้าจะมองว่าจ่ายเท่าเดิม แต่ได้ประสบการณ์ที่ดีกว่าเดิมในการเข้าพัก เป็นการชูจุดเด่นของ Room Type ของโรงแรมอีกด้วย ซึ่งแม้ว่าจะเป็นการอัพเกรดห้องให้ลูกค้าแบบฟรีๆ แต่โรงแรมยังสามารถควบคุมต้นทุนได้ จากราคาขาย และสิ่งที่รวมในแพ็กเกจ ควบคุมถัวเฉลี่ยให้มีกำไรได้
ตัวอย่างโรงแรมโปร Staycation แบบอัพเกรดห้องพักและได้รับผลตอบรับที่ดี เช่น โอเรียนเต็ล เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ สเตเคชั่น ในแพ็กเกจ Staycation with Breakfast หากจองห้องพักวันอาทิตย์ – พฤหัส สามารถอัพเกรดจากห้อง Junior Suite เป็น One Bedroom Suite ฟรี เป็นต้น
3. Staycation แบบรวมบริการ Spa
ปัจจุบันตลาดสปาและนวดภายในประเทศมีมูลค่าราว 3.5 หมื่นล้านบาท อัตราการเติบโตเฉลี่ย 8% สถิตินี้บ่งบอกถึงความนิยมของการนวด Spa ซึ่งโดยทั่วไป บริการสปา ในโรงแรม ก็เป็นที่นิยมสำหรับลูกค้าที่ชื่นชอบการนวดสปา นี่จึงเป็นโอกาสของโรงแรมที่มีบริการสปา สามารถที่จะดึงดูดลูกค้ากลุ่มนี้ได้ โดยการสร้างแพ็กเกจ ห้องพักพร้อมนวดสปา ยกตัวอย่างแพ็กเกจ Relax & Spa & Dine Staycation จากโรงแรม ชาเทรียม เรสซิเดนซ์ สาทร กรุงเทพฯ สเตเคชั่น ที่มีห้องพักพร้อมสปาแพ็กเกจ อโรมาเธอราพี 1 ชั่วโมง สำหรับ 2 ท่าน
4. Early check-in กับ Late check-out
เรามักจะคุ้นเคยกับการ เช็คอินโรงแรม เวลา 14.00 น. และเช็คเอาท์เวลา 11.00 น. – 12.00 น. ซึ่งเป็นมาตรฐานของโรงแรมทั่วไป แต่สำหรับการพักผ่อนแบบ Staycation ลูกค้ามักจะมองหาการพักผ่อนที่สะดวกสบาย ไม่เร่งรีบ จึงเกิดเทรนด์ Early check-in ที่สามารถเข้าเช็คอินได้ก่อนเวลา และ Late check-out ข้อเสนอขยายเวลาในการออกจากที่พัก ทำให้ลูกค้ารู้สึกมีอิสระในการเข้าพัก ไม่กดดัน นอกจากนี้ ในโปรโมชั่น Staycation มักจะรวมบริการต่างๆ ไว้ในแพ็กเกจ การตลาด นี้ทำให้ลูกค้ามีเวลาเพิ่มขึ้น สามารถใช้เวลาในโรงแรมได้นานขึ้นอีกด้วย เช่น โรงแรมโอเรียนเต็ล เรสซิเดนซ์ กรุงเทพฯ สเตเคชั่น แพ็กเกจ Staycation without Breakfast ที่สามารถเช็คอินได้ตั้งแต่ 10.00 น. และ Late check-out ได้จนถึง 16.00 น. เป็นต้น
5. ให้ Credit ใช้จ่ายในโรงแรม
อีกหนึ่ง การตลาด โรงแรม ที่มาแรงในโปร Staycation คือการมอบเครดิตเงินคืนเพื่อใช้จ่ายในโรงแรม การให้เครดิตเงินคืน ทำให้ลูกค้ารู้สึกเหนือกว่า เหมือนได้รับส่วนลด หรือไม่ได้จ่ายเต็มจำนวน โดยเครดิตเงินคืน จะมาในรูปแบบเครดิต F&B Credit เป็นเครดิตเพื่อใช้สำหรับทานอาหารในห้องอาหารโรงแรม หรือ Hotel Credit เป็นเครดิตโรงแรม ที่สามารถใช้จ่ายภายในโรงแรม
เช่น โรงแรม อมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพ สเตเคชั่น แพ็กเกจ Executive Club Room One Night with Hotel Credit 4,500 บาท ลูกค้าจ่าย 4,500 บาท แต่ได้เครดิตโรงแรมมาในมูลค่า 4,500 บาทเต็มจำนวน เป็นต้น ซึ่งเครดิตที่ได้ ก็เป็นเครดิตที่ไว้สำหรับใช้จ่ายในโรงแรมเอง ซึ่งต้นทุนสามารถควบคุมได้ ทำให้โรงแรมยังคงได้กำไรจากการให้เครดิต
ทั้งหมดนี้คือ แนวโน้มความต้องการของลูกค้าในโปรโมชั่น Staycation เป็นข้อมูลที่รวบรวมจากโรงแรมที่มียอดขายสูงเป็นอันดับต้นๆ ที่เข้าร่วมกับทาง Hungry Hub แพลตฟอร์มจองร้านอาหารและโรงแรมชั้นนำ โดยทางเราจะมีการช่วยเหลือในด้านการตลาด ช่วยเพิ่มกำไร ลดต้นทุน ให้กับร้านอาหารและโรงแรมที่เข้าร่วมกับเรา ถ้าหากผู้ประกอบการท่านไหนสนใจสามารถติดต่อมาได้ที่ Line: @hhforbusiness
หากร้านอาหารใหม่ สนใจอยากเข้าร่วม กับ Hungry Hub เพื่อเพิ่มโอกาส เพิ่มยอดขายให้ร้านของคุณ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : คลิก
อ่านบทความสำหรับผู้ประกอบการ ธุรกิจร้านอาหาร เพิ่มเติม
- 4 แนวทาง เตรียมร้านให้พร้อมกับทุกโอกาสพิเศษ เทคนิค การตลาดร้านอาหาร เพื่อเป็นหนึ่งในใจของลูกค้า
- เปิดร้านบุฟเฟ่ต์ แบบไหนดี? เปรียบเทียบ บุฟเฟ่ต์อะลาคาส vs บุฟเฟ่ต์ไลน์
- การทำ Seasonal Menu / ปรับแพ็กเกจ ช่วยเพิ่มยอดขายให้พุ่งต่อเนื่อง
- ถอดบทเรียน ข้าวเหนียวมะม่วง ฟีเวอร์! Soft Power กับวงการอาหาร ที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม
- 5 ปัจจัย ที่ทำให้ ลูกค้าองค์กร ตัดสินใจจองร้านอาหารแบบ Corperate Dining